วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556


บทความทางจิตวิทยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เขียน วันทนียตระกูล
ครูในฐานะเป็นนักวิทยาศาสตร์พฤติกรรม
          พฤติกรรม หมายถึงการกระทำซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความต้องการของจิตใจที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งอาจสังเกตได้โดยทางตรงหรือทางอ้อม  บางลักษณะอาจสังเกตได้โดยไม่ใช้เครื่องมือช่วยเหลือต้องใช้เครื่องมือช่วย  พฤติกรรมในมนุษย์ หมายถึงอาการกระทำหรือกิริยาที่แสดงออกมาทางร่างกายกล้ามเนื้อสมองในทางอารมณ์ ความคิดและความรู้สึก พฤติกรรมเป็นผลจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นมาเร้าในเวลาใดจะมีการตอบสนองเมื่อนั้น
      ศาสตราจารย์.สุรางค์ โคว้ตระกูล ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะกระบวนการสอนบุคคลจะต้องสอนเพื่อให้เขาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จึงได้เน้นว่า คนที่เป็นครูจะต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมและได้กล่าวถึงรายละเอียดดังนี้ ดร
        พื้นฐานความคิด (Basic Assumptions) ในทางวิทยาศาสตร์พฤติกรรมที่ครูควรจะยึดถือเป็นหลักมีดังต่อไปนี้
            - พฤติกรรมของบุคคลแต่ละอย่างจะต้องมีสาเหตุ
            - พฤติกรรมหนึ่งอาจจะมาจากสาเหตุได้หลายอย่าง  ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
            - พฤติกรรมอย่างเดียวกัน อาจจะเนื่องมาจากสาเหตุต่างชนิดกัน
       การที่จะเข้าใจพฤติกรรมของนักเรียนครูจะต้องพยายามนำหลักการในการศึกษาพฤติกรรมของนักจิตวิทยามาใช้ด้วย
ในการศึกษาพฤติกรรมนั้น  นักจิตวิทยาเชื่อว่าพฤติกรรมของแต่ละบุคคล (B) เป็นผลของความปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมรอบตัวของบุคคล (E) และเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล (P) หรือถ้าเขียนเป็นสมการก็จะเขียนได้ดังนี้ คือ B=E x P
อาจกล่าวได้ว่า พฤติกรรมของแต่ละบุคคลจะเปลี่ยนไปถ้าหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือพฤติกรรมของแต่ละบุคคลจะเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ที่สะสมถ้าหากครูพยายามนึกอยู่เสมอว่า พฤติกรรมทุกชนิดจะต้องมีสาเหตุ  การพยายามศึกษาหาสาเหตุของพฤติกรรมก็เป็นวิธีช่วยนักเรียนที่มีปัญหาได้เช่นเดียวกัน ถ้าครูพยายามจัดสิ่งแวดล้อมและจัดหาประสบการณ์ที่ดีให้นักเรียน ก็จะเป็นการช่วยให้นักรเรียนมีปฏิสัมพันธ์ในตัวแปรที่ดีต่างๆ ซึ่งจะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของนักเรียนได้ สรุปแล้วลำดับขั้นของการศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนมีดังต่อไปนี้
1. ครูจะต้องทราบก่อนว่าควรศึกษาพฤติกรรมอะไร และควรจะให้คำจำกัดความของพฤติกรรมนั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการศึกษาพฤติกรรม “ก้าวร้าว” ของเด็กชาย กครูจะต้องอธิบายว่าพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กชาย กหมายความว่าอย่างไร
             2.  ควรหาตัวแปรที่เป็นสาเหตุของพฤติกรรมนั้น
             3. ควรหาวิธีการเก็บข้อมูล  เพื่อที่จะทราบว่าตัวแปรแต่ละอย่างมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
นั้น ๆ อย่างไร
ผู้ที่จะเป็นครูไม่ควรคิดว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่จะต้องมีพรสวรรค์ อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีหลักการเป็นวิทยาศาสตร์ ดังนั้นถ้าครูจะพยายามศึกษาและนำผลของการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนมาใช้ก็สามารถปรับปรุงตนเองให้เป็นครูที่ดีมีประสิทธิภาพได้
ในเรื่องที่เกี่ยวกับการช่วยนักเรียนให้พัฒนาบุคลิกภาพนั้น ครูจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องพฤติกรรม และพยายามที่จะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ช่วยในการตัดสินใจ  คือพยายามฝึกหัดตนเอง  ไม่ควรตัดสินเกี่ยวกับสาเหตุพฤติกรรมอย่างปัจจุบันทันด่วน  หรือไม่ควรอธิบายลักษณะของนักเรียนว่า เกียจคร้าน  เห็นแก่ตัว แต่ควรศึกษาต่อไปว่า  เหตุใดนักเรียนจึงไม่ทำงาน หรือเหตุใดนักเรียนจึงไม่เอื้อเฟื้อคนอื่น ก่อนที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับพฤติกรรมนักเรียน  ครูควรพยายามหาสาเหตุโดยตั้งเป็นสมมติฐานหลายๆ อย่างแล้วหาข้อมูลมาพิสูจน์  ตัวอย่างเช่น เด็กชาย ก.อายุ 11 ปี มีฐานะดีแต่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการขโมยเงินจากทางบ้านอยู่เสมอ  วันหนึ่งผู้ปกครองแจ้งกับครูประจำชั้นว่า เด็กชาย กขโมยเงินทางบ้านเป็นจำนวลหลายร้อยบาท ในกรณีเช่นนี้ครูควรศึกษาว่าเหตุใดเด็กชาย กจึงขโมยเงินและพยายามหาข้อมูลมาพิสูจน์

        ตัวอย่างการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของการขโมยของเด็กชาย กอาจจะมีดังต่อไปนี้
        1.  เด็กชาย กขโมยเงินเพราะต้องการซื้อของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น เช่น เสื้อผ้า ของใช้
        2.  เด็กชาย กเอาเงินไปเพราะต้องการใช้เงินไปเที่ยวหลังจากเลิกเรียนแล้ว
        3.  เด็กชาย กขโมยเงินเพราะโกรธทางบ้าน เลยขโมยเพื่อจะให้พ่อแม่กลุ้มใจ
        4.  เด็กชาย กขโมยเงินเพื่อซื้อของแจกเพื่อน เพื่อให้เพื่อนชอบตน
                                            ฯลฯ
          วิธีการที่ครูหาข้อมูลก็มีหลายวิธี แต่ควรเลือกวิธีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของเด็กชาย กเท่านั้นในขั้นแรกของครูควรจะสัมภาษณ์ผู้ปกครอง และสังเกตจากพฤติกรรมของนักเรียนในขณะที่อยู่โรงเรียน เป็นต้นว่า เด็กชาย กมีของใช้ครบหรือไม่ตอนนี้  หรือแต่งตัวอย่างไร  ใครเป็นผู้ซื้อของหรือเครื่องแต่งตัวให้เด็กชาย  หากถามผู้ปกครองว่าใครเป็นผู้ซื้อของให้เด็กชาย กถ้าผู้ปกครองบอกว่าเป็นคนซื้อของให้ ไม่เคยให้เด็กชาย กเดือดร้อนเลย ถ้าอยากได้เสื้อผ้าก็ซื้อให้เสมอโดยไม่จำกัดนอกจากนั้นเด็กชาย กได้เงิน  ค่าใช้จ่ายประจำวัน ค่ารถก็ไม่ต้องเสีย  อาหารเช้าก็รับประทานจากบ้าน และเก็บเข้าออมสินเวลาเงินเหลือ  ถ้าครูทราบเช่นนี้ก็อาจจะคิดว่าสมมติฐานข้อ 1 คงจะไม่สามารถเป็นสาเหตุพฤติกรรมขโมยของเด็กชาย ก.ได้
          สำหรับสมมติฐานข้อ 2 เด็กชาย กเอาเงินไปเที่ยวหลังจากเลิกเรียนแล้วนั้น ก็อาจจะหาข้อมูลว่าเด็กชาย กกลับบ้านอย่างไร ถึงบ้านกี่โมง ถ้าความจริงมีอยู่ว่า เด็กชาย กถึงบ้านประมาณ 16.00-17.00 เพราะมีรถมารับที่โรงเรียนทุกวัน หลังจากนั้นก็ตรงไปบ้าน สมมติฐานข้อ 2 ก็ใช้ไม่ได้
          สำหรับสมมติฐานข้อ 3 นั้น อาจจะหาข้อมูลจาก เด็กชาย กเอง โดยสัมภาษณ์ถึงความสัมพันธ์ของเด็กชาย กกับ พ่อ แม่ พี่ น้อง ว่ามีความสัมพันธ์อย่างไร และถามผู้ปกครองด้วยว่า เป็นอย่างไร  ถ้าหากว่าความสัมพันธ์ดี ทุกคนมีความรักใคร่ปรองดองดี เพราะเด็กชาย กเป็นลูกชายคนเดียว สมมติฐานข้อ 3 ก็อาจจะเป็นไปไม่ได้
          ส่วนสมมติฐานข้อ 4 นั้น ครูอาจจะหาข้อมูลโดยการสังเกตพฤติกรรมของเด็กชาย กในห้องเรียนและนอกห้องเรียน การปฏิสัมพันธ์ของเด็กชาย ก.และเพื่อนๆ นอกจากนี้อาจจะใช้เทคนิคที่เรียกว่า สังคมมิติ (Sociometric Techniques) เพื่อช่วยให้ได้ข้อมูลก็ได้ ในกรณีของเด็กชาย ก.ครูใช้เทคนิคสังคมมิติหาความสัมพันธ์ของเด็กชาย กและเพื่อนๆ โดยสร้างสถานการณ์  การนั่งรถไปแข่งขันฟุตบอลนอกสถานที่ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น  โดยให้นักเรียนบอกชื่อเพื่อน 3 คน ที่ตนอยากนั่งใกล้ตามลำดับความชอบจากที่ 1 ถึง 3จากการสร้างสังคมสัมพันธ์  (Sociogram)  จากข้อมูลที่ได้ปรากฏว่าเด็กชาย กไม่มีใครเลือกเลย นอกจากนี้ครูเคยจำได้ว่า เด็กชาย กเคยเอาของแพงๆ มาฝากเพื่อนและเมื่อครูถามว่าเอามาจากไหน คำตอบของเด็กชาย กก็คือว่า คุณพ่อ คุณแม่ซื้อมาจากฮ่องกงและอยากให้เพื่อนรัก  จึงขโมยเงินทางบ้านมาซื้อของให้เพื่อน  เพื่อจะให้เพื่อนรักตน
          ครูจะช่วยเด็กชาย กได้อย่างไร
          1. ครูควรพยายามสังเกตศึกษาพฤติกรรมของเด็กชาย กต่อไปว่ามีพฤติกรรมอะไรที่ทำให้เพื่อนรังเกียจที่จะเป็นเพื่อนด้วย และพยายามที่จะช่วยเด็กชาย กให้เปลี่ยนพฤติกรรม
          2. ครูควรใช้มูลจากสังคมมิติให้เป็นประโยชน์ โดยดูว่าเด็กชาย กมีความรักและรู้สึกสนิทสนม อยากเป็นเพื่อนกับใครเป็นพิเศษ  เมื่อทราบแล้วครูควรจะพยายามพูดกับนักเรียน 3 คน ที่เด็กชาย กเลือก โดยขอความร่วมมือให้ช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กชาย กที่เพื่อนไม่ชอบและพยายามที่จะให้เด็กชาย กร่วมกิจกรรมต่างๆ ด้วย
          3. ครูควรอธิบายให้ทางบ้านทราบถึงสาเหตุที่เด็กชาย กขโมยเงิน และขอความร่วมมือจากทางบ้านให้ช่วยเด็กชาย กปรับปรุงตัวเองเพื่อจะให้มีเพื่อน
          ในการศึกษาและสังเกตของครู พบว่าลักษณะนิสัยของเด็กชาย กที่เพื่อนไม่ชอบคือ
             1) โมโหง่าย
             2) ค่อนข้างจะคิดถึงตนเองมากกว่าคนอื่น ซึ่งเพื่อนคิดว่าเป็นคนเห็นแก่ตัว นิสัยเช่นนี้เพื่อนที่เด็กชาย กรัก รวมทั้งผู้ปกครองควรต้องช่วยชี้แจงให้เด็กชาย กทราบว่าเด็กชาย กควรจะปรับปรุงอย่างไร พยายามช่วยเด็กชาย กให้เห็นว่า ถ้าเด็กชาย  ไม่เปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อนก็จะยังคงไม่ชอบสิ่งของและเงินซื้อความเป็นเพื่อนไม่ได้
           เรื่องที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเรื่องจริง และจบด้วยดีคือ เด็กชาย กเปลี่ยนพฤติกรรมได้กลายเป็นคนมีเพื่อนฝูงมากในห้อง เพราะเด็กชาย ก.เป็นนักกีฬาเล่นฟุตบอลเก่งด้วย
มีนักเรียนอีกคนหนึ่งเป็นเด็กชายอายุรุ่นราวคราวเดียวกันกับเด็กชาย กเด็กคนนี้ขโมยเงินเพราะอยากให้ครูโกรธ ที่จริงขโมยแล้วก็ไม่ได้ใช้ แลหลังจากถามทางบ้านก็ปรากฏว่า เคยขโมยสร้อยข้อมือของคุณแม่ด้วยเหตุผลเดียวกัน คืออยากให้แม่โกรธ เพราะนักเรียนผู้นี้รู้สึกว่าทั้งแม่และครูคอยจู้จี้เจ้าระเบียบและเคร่งครัดอยู่ตลอดเวลา
สรุปได้ว่า พฤติกรรมขโมยของนักเรียนมีสาเหตุแตกต่างกัน
  ไม่ควรจะตัดสินใจอย่างรีบด่วนหรือยึดความคิดเห็นของตน โดยไม่หาสาเหตุก่อน ตัวอย่างเช่น ถ้าครูสังเกตว่า เด็กชาย ข. ไม่เคยยกมือตอบหรือถามคำถามเลยและสรุปว่าเป็นเพราะเด็กชาย ข. ขี้อาย ก็จะไม่มีประโยชน์ และจะไม่สามารถช่วยเด็กชาย ข. ให้ร่วมกิจกรรมในห้องเรียนได้ ดังนั้น ครูควรจะศึกษาว่าเหตุใด เด็กชาย ข. จึงไม่เคยยกมือตอบหรือถามคำถามในชั้นเลย การศึกษาก็อาจจะเริ่มต้นด้วยสมมติฐานสาเหตุของพฤติกรรมการเรียน  เพราะถ้าจะแก้ไขพฤติกรรมจะต้องทราบสาเหตุของพฤติกรรมนั้น ถ้าจะช่วยเด็กชาย ข. ควรจะเน้นในปัญหาที่ว่าเด็กชาย ข. ไม่เคยยกมือตอบคำถาม และร่วมกิจกรรมในห้องเรียน ผลจากการศึกษาอาจจะเป็นเพราะเด็กชาย ข. เคยถูกครูดุเวลาตอบคำถามไม่ถูกในปีที่แล้วๆ มาครูก็อาจจะแก้ให้โดยบอกกับเด็กชาย ข. เป็นส่วนตัวว่า ขอให้ยกมือตอบคำถามของครูถ้าทราบ ถ้าตอบไม่ได้ก็ไม่เป็นไร และครูควรจะเริ่มป้อนคำถามเด็กชาย ข. โดยใช้คำถามง่ายๆ และชมเด็กชาย ข. เวลาตอบถูก จะเป็นการให้กำลังใจแก่เด็กชาย ข. และเป็นข้อจูงใจให้ยกมือตอบหรือถามคำถามต่อไป
            จากตัวอย่างข้างบนนี้ ผู้ที่เป็นครูควรพยายามเป็นนักวิทยาศาสตร์พฤติกรรม คือ พยายามหาข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจ


วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทำนายลักษณะนิสัยจากแบบทดสอบทางจิตวิทยา
ลองนึกถึงทะเล แล้วเลือกว่าทะเลในความคิดของคุณเป็นอย่างไร
     ก. สีน้ำเงินเข้ม
     ข. ใส สะอาด
     ค. สีเขียว
     ง. ขุ่น
 คุณอยากอยู่ตรงไหนของภูเขา
 คุณชอบรูปทรงใดมากที่สุด
     ก. ทรงกลม
     ข. สี่เหลี่ยมจตุรัส
     ค. สามเหลี่ยม
คุณอยากให้รูปทรงดังกล่าวมีขนาดเท่าไหร่
     ก. เล็กมาก
     ข. เล็ก
     ค. ปานกลาง
     ง. ใหญ่
     จ. ใหญ่มาก
และมันถูกสร้างขึ้นมาจาก
     ก. ไม้
     ข. กระจก/แก้ว
     ค. เพชร
     ง. เหล็ก/โลหะ
จินตนาการถึงม้า ม้าในความคิดของคุณจะมีสี
     ก. น้ำตาล
     ข. ดำ
     ค. ขาว
คุณเดินอยู่บนระเบียงและเห็นประตูสองบาน เพียงคุณก้าวต่อไปทางซ้ายอีกสี่ห้าก้าวก็จะถึงประตูบานที่หนึ่ง ส่วนประตูอีกบานนั้น คุณจะต้องเดินไปจนสุดทางระเบียง ถ้าประตูทั้งสองบานถูกเปิดทิ้งไว้ และมีกุญแจดอกหนึ่งวางอยู่ตรงหน้า คุณจะเก็บกุญแจขึ้นมาหรือไม่
     ก. เก็บ
     ข. ไม่เก็บ
ถ้าหากว่าพายุกำลังเข้ามาใกล้ คุณจะเลือก
     ก. ม้า
     ข. บ้าน
ผลการวิเคราะห์
 สีของน้ำทะเล แสดงถึงบุคลิกภาพของคุณ
     ก. สีน้ำเงินเข้ม - คุณมีบุคลิกภาพที่ซับซ้อนเข้าใจยาก
     ข. ใส สะอาด - คุณเป็นคนเปิดเผย เข้าใจง่าย
     ค. สีเขียว - คุณเป็นคนง่ายๆ สบายๆ ไม่ค่อยเครียด
     ง. ขุ่น - คุณเป็นคนสับสนในตัวเอง
 ความสูงของภูเขาเป็นตัวแทนความทะเยอทะยานในชีวิตของคุณ
 รูปทรง แสดงถึงลักษณะนิสัยของคุณ
     ก. ทรงกลม - คุณพยายามเอาอกเอาใจทุกๆ คน
     ข. สี่เหลี่ยมจัตุรัส - คุณเป็นคนหัวแข็ง และเอาแต่ใจตัวเอง
     ค. สามเหลี่ยม - คุณเป็นคนหัวดื้อ
ขนาดของรูปทรง แสดงถึงขนาดที่คุณมีลักษณะนิสัยดังกล่าว
วัสดุที่ใช้สร้างรูปทรง แสดงถึงบุคลิกของคุณ
     ก. ไม้ - รักความสงบ
     ข. กระจก/แก้ว - เปราะบาง
     ค. เพชร - ดื้อรั้น
     ง. เหล็ก/โลหะ - เข้มแข็ง แต่ไม่ค่อยยืดหยุ่น
สีของม้า แสดงถึงบุคลิกของคุณอีกเช่นกัน
     ก. น้ำตาล - ติดดิน
     ข. ดำ - ไม่แน่นอน มีอารมณ์ที่รุนแรง การอยู่ร่วมกับคุณมักมีเรื่องให้น่าตื่นเต้นอยู่เสมอ
     ค. ขาว - หยิ่ง แต่น่าประทับใจ
การเก็บลูกกุญแจ แสดงถึงการฉวยโอกาส
     ก. เก็บ - คุณรู้จักฉกฉวยโอกาสที่เป็นประโยชน์
     ข. ไม่เก็บ - คุณไม่ใช่คนชอบฉวยโอกาส
ที่พึ่งในยามที่มีพายุ แสดงถึง คนที่คุณมักจะนึกถึงเสมอเวลามีปัญหา
     ก. ม้า - สามีหรือภรรยาของคุณ
     ข. บ้าน - เพื่อนสนิทที่รู้ใจ